อยากได้เอกสารในสํานวนคดี

 

บทความ อ. ๒๘/๒๕๖๔

วรรธนพงศ์ คําดี

อยากได้เอกสารในสํานวนคดี

ช่วงนี้ประเด็นร้อนแรงในสังคมคงไม่พ้นคดีหนึ่งที่มีการชิงไหวชิงพริบทั้งในเรื่องหลบหนีออกจากบ้าน ไม่ให้ตํารวจในท้องที่จับตามหมายจับ แต่โผล่ไปมอบตัวที่กรุงเทพฯ รวมไปถึงการนําเรื่องไปร้องเรียนต่อหน่วยงานที่มี อํานาจในการเรียกตํารวจไปชี้แจง ซึ่งอาจทําให้ก้าวล่วงไปถึงสํานวนคดี จะทําให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบทางคดีกันได้ มาดูว่ามีหลักในการเปิดเผยสํานวนคดีได้แค่ไหน

นาง ก เป็นมารดาของนาย ข ได้มีหนังสือถึงสถานีตํารวจภูธร A เพื่อขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสํานวน คดีที่นาย ข ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์และถูกรถยนต์ของนาย ค ชน เป็นเหตุให้นาย ข บาดเจ็บสาหัส โดยขอข้อมูล ข่าวสารหลายรายการเช่น รายงานประจําวันเกี่ยวกับคดี บันทึกการรับแจ้งเหตุ ชื่อพนักงานสอบสวน วันเวลาตรวจ สถานที่เกิดเหตุ บัญชีวัตถุพยานที่ตรวจพบ บุคคลที่เกี่ยวข้องในสถานที่เกิดเหตุ แผนผังภาพถ่ายสถานที่เกิดเหตุ บันทึก ปากคําผู้ที่เกี่ยวข้องหลักฐานการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลและค่าเสียหายของบริษัทประกันภัย สถานีตํารวจภูธร A เปิดเผยเฉพาะประจําวันเกี่ยวกับคดี ส่วนข้อมูลข่าวสารรายการอื่น ๆ ปฏิเสธการเปิดเผย โดยให้เหตุผลว่า ถือเป็น ความลับของทางราชการ ตามระเบียบการตํารวจไม่เกี่ยวกับคดีลักษณะที่ ๒๙ การเปิดเผยจะมีผลกระทบต่อคดีอัน อาจทําให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพหรือไม่อาจสําเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ ตามมาตรา ๑๕ (๒) แห่ง พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ นาง ก จึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูล ข่าวสาร

คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ วินิจฉัยสรุปว่า ข้อมูลข่าวสารตามอุทธรณ์ คือ บันทึกการรับแจ้งเหตุ ชื่อพนักงานสอบสวน วันเวลาตรวจสถานที่เกิดเหตุ บัญชีวัตถุพยานที่ตรวจพบ บุคคลที่เกี่ยวข้อง ในสถานที่เกิดเหตุ แผนผังภาพถ่ายสถานที่เกิดเหตุ บันทึกปากคําผู้ที่เกี่ยวข้องหลักฐานการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลและ ค่าเสียหายของบริษัทประกันภัย เป็นข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของ ราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยเป็นข้อมูลในสํานวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า สถานี ตํารวจภูธร A ได้รวบรวมพยานหลักฐานสรุปสํานวนการสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาในคดีดังกล่าวไปยัง พนักงานอัยการแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นศาล การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามอุทธรณ์จะกระทบต่อ ข้อเท็จจริงแห่งคดีและพยานเอกสารในชั้นศาล อันจะทําให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพหรือไม่อาจสําเร็จ ตามวัตถุประสงค์ได้ ตามมาตรา ๑๕ (๒) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ การปฏิเสธการ เปิดเผยข่าวสารตามอุทธรณ์ของสถานีตํารวจภูธร A จึงชอบแล้ว วินิจฉัยให้ ยกอุทธรณ์

มีข้อสงสัยการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ หารือไปที่สํานักงาน คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ๐ ๒๒๘๓ ๔๖๗๗ www.oic.go.th (ที่ สค ๔๔/๒๕๖๔) นายวรรธนพงศ์ คําดี ผู้อํานวยการส่วนส่งเสริมและเผยแพร่สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสาร

“เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น”


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar